เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ ของ ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 นัดชิงชนะเลิศ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ โปรดดู ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่จัดขึ้นทุกสี่ระหว่างทีมชาติชาย 8 ทีมที่ชนะการแข่งขันชิงแชมป์ทวีปจากทั้งหกทวีป ประเทศเจ้าภาพ และทีมชนะเลิศฟุตบอลโลก[3][4] โดยทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศประจำปีนี้ได้สำเร็จ ได้แก่ สหรัฐ และบราซิล โดยทั้งคู่เคยพบกันมาแล้ว 13 ครั้ง รวมทั้งในรอบแบ่งกลุ่มของฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 1999 และ 2003 และในรอบแพ้คัดออกของฟุตบอลโลก 1994[5][6] โดยบราซิลชนะสิบสองนัดในขณะที่ สหรัฐชนะบราซิลได้เพียงนัดเดียวในรอบรองชนะเลิศของคอนคาเคฟโกลด์คัพ 1998 ด้วยคะแนน 1–0[7][8]

โดย สหรัฐ ได้เข้ามาเล่นในการแข่งขันนี้จากการชนะเลิศ คอนคาแคฟโกลด์คัพ 2007 ที่ประเทศของเขาเป็นเจ้าภาพ โดยผ่านเข้ามาแข่งขันเป็นลำดับที่ 4 ส่วนบราซิลได้จากการชนะเลิศ โกปาอาเมริกา 2007 ที่เวเนซุเอลา เข้ามาแข่งขันเป็นลำดับที่ 6[9] ก่อนหน้านี้บราซิลเคยคว้าแชมป์ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชั่นส์คัพสองครั้งในปี 1997 และ 2005 ในขณะที่ สหรัฐอเมริกา ได้ลงเล่นในรอบชิงชนะเลิศครั้งแรกในการแข่งขันระดับทีมชุดใหญ่นอกภูมิภาคอเมริกาเหนือ[10][11] ทั้งสองทีมได้ลงเล่นในกลุ่มบี ในรอบแบ่งกลุ่ม เช่นกันกับ อียิปต์ แชมป์แอฟริกันคัพออฟเนชันส์ และอิตาลี แชมป์ฟุตบอลโลก[12]

รอบแบ่งกลุ่ม

ในนัดแรกของสหรัฐอเมริกา ที่ฟรีสเตต พวกเขาต้องพบกับแชมป์โลกอย่าง ทีมชาติอิตาลี ถึงแม้ว่าพวกเขาจะขึ้นนำก่อนจาก แลนดอน โดโนแวน จากลูกโทษ ในนาทีที่ 41[13] แต่พวกเขาก็เสียประตูในครึ่งเวลาหลังถึงสามประตู จากดานีเอเล เด รอสซี และจูเซปเป รอสซี ทำให้พวกเขาแพ้ไปด้วยคะแนน 1–3 ขณะที่ บราซิล ลงเล่นพบกับอียิปต์ โดยพวกเขาขึ้นนำเร็วตั้งแต่ 5 นาทีแรกจากกากา และถูกตีเสมอจากโมฮาเหม็ด ซีดาน ก่อนที่ลูอีส ฟาเบียนู และฮวน จะทำคนละหนึ่งประตูทำให้บราซิลขึ้นนำอีกครั้ง ก่อนที่จะถูกตีเสมอจาก ซีดาน และ ชอว์กี ในนาทีที่ 54 และ 55 แต่สุดท้าย กากา ก็สามารถทำประตูให้บราซิลเอาชนะด้วยคะแนน 4–3 ได้จากลูกโทษ หลังจากผู้ตัดสินมองว่า อะห์มัด อัลมุฮัมมะดี เจตนาใช้แขนปัดสกัดลูกยิงของลูซียู[14][15]

ในนัดที่สองทั้ง สหรัฐ และบราซิล ต้องพบกันที่ลอฟตัสเวอร์สเฟลด์ โดยเป็นบราซิลที่เอาชนะไปได้ด้วยคะแนน 0–3 จากไมกง ที่เปิดฟรีคิกด้วยระยะ 35 หลาให้กับเฟลิเป เมโล ทำประตูในนาทีที่ 7 ก่อนที่จะถูกขึ้นนำห่างไปอีกครั้งในนาทีที่ 20 หลังจาก ดามาคัส บีสลี่ย์ เสียการครอบครองบอลจากลูกเตะมุมของสหรัฐ ให้กับ รามีริส เลี้ยงบอลและส่งต่อให้ โรบินยู ยิงผ่านทิม ฮาวเวิร์ดเข้าประตู ในนาทีที่ 57 ซาช่า เคลสตาน ได้นับใบแดงและทำให้ทีมเสียโมเมนตัมที่พวกเขาได้รับในครึ่งหลัง ก่อนที่จะเสียประตูสุดท้ายให้กับบราซิลในอีกห้านาทีต่อมาจากไมกง[16] แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะแพ้สองนัดแรก แต่พวกเขาก็ยังมีสิทธิ์ที่จะผ่านเข้ารอบหลังจาก อียิปต์ แพ้ให้กับอิตาลี[17]

ในนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม สหรัฐ สามารถเอาชนะ อียิปต์ ได้ด้วยคะแนน 3–0 จากการทำประตูของ ชาร์ลี เดวีส์ ไมเคิล แบรดลีย์ และคลินต์ เดมป์ซีย์ คนละหนึ่งลูประตู ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเก็บสามคะแนนได้และมีประตูได้เสียเพิ่มขึ้นมาเป็นติดลบ 2 และทีมชาติอียิปต์มีประตูได้เสียลดลงเป็นติดลบ 3 ขณะที่ บราซิล ก็สามารถเอาชนะอีตาลี ได้ด้วยคะแนน 3–0 เช่นกัน จากการทำประตูของลูอีส ฟาเบียนู สองประตูและการทำเข้าประตูตัวเองของอันเดรีย ดอสเซนา กองหลังของอิตาลีอีกหนึ่งประตู ทำให้อิตาลีมีเพียงสามคะแนน เช่นกันกับ อียิปต์ และสหรัฐ และอิตาลีมีประตูได้เสียติดลบ 2 เช่นกันกับสหรัฐ ทำให้ต้องไปวัดกันที่ประตูได้ ซึ่งสหรัฐยิงได้สี่ประตู ขณะที่ อิตาลีทำได้เพียงสามประตู ทำให้สหรัฐผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกต่อไป

รอบรองชนะเลิศ

สหรัฐอเมริกา เผชิญหน้ากับผู้ชนะกลุ่มเออย่าง สเปน แชมป์ทวีปยุโรปในปี ค.ศ. 2008 และเป็นทีมเต็งที่จะคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2010[18][19] สหรัฐ ชนะการแข่งขันด้วยคะแนน 2–0 ทำลายสถิติการไม่แพ้ใครของสเปนที่เริ่มในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006[20] และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งแรกในการแข่งขันทีมชุดใหญ่ระหว่างทวีป เดอะนิวยอร์กไทม์ส ขนานนามว่า "ปาฎิหารย์บนพื้นหญ้า" หรือ "miracle on grass"[11][21] ในนัดนี้ สหรัฐ เริ่มต้นการแข่งขันด้วยแรงกดดันในช่วงต้นและทำให้สไตล์การครอบครองกองกลางของสเปนหยุดชะงัก โจซี อัลติดอร์ทำประตูแรกของเกมในนาทีที่ 27[20] สหรัฐ สามารถที่จะป้องกันการทำประตูของสเปนที่สร้างโอกาสการทำประตูถึง 18–9 ครั้ง และทำประตูที่สองได้ในนาทีที่ 74 ด้วยการผ่านบอลของ แลนดอน โดโนแวน ที่ทำให้ ฌาราร์ต ปิเก และเซร์ฆิโอ ราโมส หักเหไปด้านหน้า ทำให้ คลินต์ เดมป์ซีย์ ไปแย่งบอลจากปีเกที่ไม่สารถครองครองบอลได้แล้วยิงผ่านมือของ อิเกร์ กาซิยัส จากระยะสั้นไปเป็น 2–0[11][22]

ขณะที่ บราซิล ต้องพบกับเจ้าภาพอย่าง แอฟริกาใต้ รองแชมป์กลุ่ม A โดยชนะไปได้วยคะแนน 1–0 การแข่งขันยังคงไร้การทำประตูเป็นเวลา 88 นาทีแม้บราซิลพยายามที่จะทำประตูหลายครั้ง ก่อนที่ ดาเนียล อัลวีส ตัวสำรองจะเตะฟรีคิกจากมุมไกลผ่านมือของ อีตูเมเลง คูเน เข้าไปเป็นประตูเดียวในนัดนี้

สหรัฐอเมริการอบบราซิล
คู่แข่งขันสกอร์รอบแบ่งกลุ่มคู่แข่งขันสกอร์
อิตาลี1–3แมตซ์ 1 อียิปต์4–3
บราซิล0–3แมตซ์ 2 สหรัฐอเมริกา3–0
อียิปต์3–0แมตซ์ 3 อิตาลี3–0
กลุ่ม บี รองแชมป์กลุ่ม
ทีมเล่น
ชนะ
เสมอ
แพ้
ได้
เสีย
ต่าง
คะแนน
 บราซิล3300103+79
 สหรัฐ310246−23
 อิตาลี310235−23
 อียิปต์310247−33
ตารางคะแนนรอบแบ่งกลุ่มกลุ่ม บี แชมป์กลุ่ม
ทีมเล่น
ชนะ
เสมอ
แพ้
ได้
เสีย
ต่าง
คะแนน
 บราซิล3300103+79
 สหรัฐ310246−23
 อิตาลี310235−23
 อียิปต์310247−33
คู่แข่งสกอร์รอบแพ้คัดออกคู่แข่งสกอร์
สเปน2–0รอบรองชนะเลิศ แอฟริกาใต้1–0

ใกล้เคียง

ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005 ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 กลุ่มบี ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 กลุ่มเอ ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 กลุ่มเอ ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 รอบแพ้คัดออก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 นัดชิงชนะเลิศ http://www.fifa.com/confederationscup/awards/manof... http://www.fifa.com/confederationscup/matches/roun... http://www.fifa.com/confederationscup/qualifiers/i... http://www.fifa.com/tournaments/archive/confederat... http://old.seattletimes.com/html/sounders/20093861... http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/content/artic... http://web.archive.org/web/20090629192453/http://w... http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/africa/81... http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/internati... http://news.bbc.co.uk/sport2/hi/football/internati...